ทันตกรรมอุดฟัน

[ultimate_heading main_heading=”ทันตกรรมอุดฟัน” main_heading_color=”#009edc” main_heading_style=”font-weight:bold;” margin_design_tab_text=””][/ultimate_heading]

การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีฟันผุหรือบิ่น โดยทันตแพทย์จะทำการซ่อมแซมบริเวณนั้นด้วยวัสดุอุดฟันต่างๆ เช่น วัสดุ อมัลกัม และวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

ประเภทของการอุดฟัน

การอุดฟันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามชนิดของวัสดุที่ใช้ดังนี้

  • การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม
  • การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

ศูนย์ทันตกรรมของเราเลือกใช้ 3M ESPE Filtek ในการอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน เนื่องจากเป็นที่ยอมรับด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งมีประสิทธิภาพและความแข็งแรงสูงในการอุดฟัน

คุณสมบัติของ 3M ESPE Filtek

  • เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจึงให้ความเงางามและการเกาะยึดที่ดี
  • มีความแข็งแรงและทนทานสูงแม้ใช้ในฟันกรามที่ต้องรับแรงบดเคี้ยว
  • สามารถใช้ในงานอุดฟันแบบง่ายๆจนถึงซับซ้อน สามารถปรับแต่งผสมสีให้มีความสวยงามใกล้เคียงกับสีของฟันตามธรรมชาติมากที่สุด
  • มีระดับการหดตัวต่ำจึงช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการเสียวฟันของผู้ป่วย
  • ให้ความใสสว่างจึงช่วยให้แลดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
  • คุณสมบัติเฉพาะที่ได้รับจากการพัฒนาด้วยนาโนเทคโนโลยีจึงทำให้การอุดฟันที่ได้มีประสิทธิภาพการทำงานสูง

The above information has been taken from 3M ESPE website.

การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

ขั้นตอนการอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

  • ขั้นการตรวจวินิจฉัยและการกรอฟันที่ผุออก
    • เนื้อฟันที่ผุและติดเชื้อได้รับการกรอทิ้งไป
    • การเตรียมพื้นที่ฟันเพื่อการอุด
  • ขั้นตอนการอุดฟัน
    • ทันตแพทย์จะทำการใส่วัสดุเรซินสีเหมือนฟัน สลับกับการฉายแสงให้วัสดุแข็งตัวเป็นชั้นๆ
    • หลังจากได้รับการอุดเต็มพื้นที่แล้ว ทันตแพทย์จะทำการกรอแต่งให้ได้รูปร่างที่เหมาะสมตามต้องการ
    • ทันตแพทย์จะทำการขัดวัสดุให้มีความเงางามดูเป็นเนื้อเดียวกันกับฟันตามธรรมชาติ
    • polish final restoration

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการรักษา

โดยทั่วไป การอุดฟันหรือการเปลี่ยนวัสดุอุดนั้นสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ในเวลาสั้นๆ ดังนั้นอาการต่างๆ เช่น การเสียวฟันหลังการรักษาจึงเกิดขึ้นได้น้อยมาก การอุดฟันสามารถทำและเสร็จภายในวันเดียว แต่สำหรับกรณีทีผู้ป่วยมีจำนวนฟันที่ต้องเข้ารับการอุดมากๆนั้น อาจทำได้โดยการทยอยเข้ารับการอุด

การดูแลรักษาหลังได้รับการอุดฟัน

To maintain your fillings, you should follow good oral hygiene practices:

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
  • ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก่อนเข้านอนทุกวัน โดยกลั้วน้ำยาบ้วนปากและอมไว้ประมาณ 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังจากนั้น
  • ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและเข้ารับการขัดฟันขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน
  • ในกรณีที่มีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน หรือมีการแตกและหลุดของวัสดุอุดฟัน ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที

Goto section on Frequently Asked Questions (FAQs) on Dental Fillings

ข้อเปรียบเทียบในการใช้วัสดุอมัลกัม และวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน ในการอุดฟัน

การตกแต่งและบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

การตกแต่งและบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน เป็นการนำวัสดุเรซินที่สามารถเลือกสีให้เหมือนกับฟันของผู้เข้ารับบริการนั้นๆ มาประยุกต์ใช้ในงานทันตกรรมเพื่อความสวยงาม ซึ่งเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายไม่มาก

การตกแต่งและบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

  • สามารถนำมาใช้ในการซ่อมแซมฟันที่ผุ
  • สามารถนำมาใช้ในการซ่อมแซมฟันที่บิ่นหักเล็กน้อย
  • สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาสีของฟันที่ไม่สวยงาม
  • สามารถใช้ในการปิดช่องว่างระหว่างฟัน
  • สามารถช่วยในการเพิ่มความยาวของฟัน
  • สามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาเรื่องสีและรูปร่างของฟัน
  • ช่วงอำพรางหรือลดความชัดเจนของคราบสีบนฟัน
  • สามารถใช้ในการแก้ปัญหาฟันล้มได้ระดับหนึ่ง
  • เป็นอีกทางเลือกหนึงในการอุดฟันนอกจาการใช้วัสดุอมัลกัม
  • สามารถใช้ในการอุดปิดคอฟันและปกป้องผิวของรากฟันที่โผล่ออกมานอกเหงือกซึ่งมักเกิดจากปัญหาเหงือกร่น

ขั้นตอนการบูรณะฟันด้วยวัสดุเรซิน

  1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
    • ทันตแพทย์จะทำตรวจวินิจฉัยแล้วจึงทำการเทียบสีฟันเพื่อที่จะสามารถเลือกใช้สีของวัสดุที่ใกล้เคียงกับสีฟันของผู้ป่วยมากที่สุด
    • การขัดและกรอผิวฟันให้มีความหยาบเพื่อให้การติดยึดของวัสดุมีความทนทานมากที่สุด
  2. ขั้นตอนการใช้วัสดุเรซิน
    • การติดวัสดุเรซิน และแต่งรูปให้มีความเหมาะสมกับฟัน
    • การฉายแสงเพื่อให้วัสดุแข็งตัว
    • การกรอแต่งรูปร่างและการขัดวัสดุให้มีความสวยเงางาม

Recovery Expectations

การบูรณะและตกแต่งฟันด้วยการใช้วัสดุเรซิน เช่นการอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน นั้น แทบจะไม่มีการกรอเนื้อฟันออกเลย ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่ก่อให้เกิดการเสียวฟันหรืออาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก

วิธีการดูแลรักษา

Simply follow good oral hygiene practices.

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
  • ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
  • ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณที่ได้รับการบูรณะตกแต่งฟัน
  • ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน

Goto section on Frequently Asked Questions (FAQs) on Dental Bonding

คำถามและคำตอบกับการตกแต่งฟันโดยใช้วัสดุสีเหมือนฟัน

  • อะไรคือผลดีและผลเสียจากการทำ Bonding
  • มีการดูแลรักษาเป็นพิเศษหรือไม่
  • การทำ Bonding สามารถอยู่ได้นานขนาดไหน

อะไรคือผลดีและผลเสียจากการทำ Bonding

ประโยชน์ที่ได้รับ การทำ Bonding เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและมีค่าใช้จ่ายน้อยในการขบวนการเสริมความงามในด้านทันตกรรม ไม่เหมือนกับ การทำ veneers , crowns  ซึ่งกรรมมาวิธีดังกล่าวต้องทำร่วมกับ laboratory ซึ่งการทำ Bonding สามารถทำได้ในครั้งเดียว อีกปะการหนึ่งคือ ถ้าเปรียบเทียบกับ veneers , crowns แล้ว การใช้วัสดุสีเหมือนฟันนี้ไม่ต้องมีการถอนฟันซี่ใดออกแต่ประการใด

ผลเสีย ของการทำ Bonding นี้สีจะไม่คงทนเหมือนการทำ veneers and crowns และวัสดุที่ใช้จะไม่คงทนเหมือนกับ veneers and crowns ในกรณีที่ใช้วัสดุสีเหมือนฟันในบางกรณีอาจมีการแตกได้ เพราะการทำ Bonding จะดีสำหรับในกรณีการทำ อุดฟันในจุดที่เล็กในกรณีที่ต้องการอุดในบริเวณฟันหน้าเพื่อความสวยงามเท่านั้น ในกรณีพิเศษควรปรึกษาแพทย์ของท่านเพื่อคำแนะนำที่เหมาะสม

มีการดูแลรักษาเป็นพิเศษหรือไม่

การทำ Bonding ต้องการการดูแลเป็นพิเศษหรือไม่
การทำ Bonding นั้นผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษแม้แต่น้อย แค่เพียงทำการดูแลตามปกติ คือ แปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ใช้ไหมขัดฟันวันละครั้งทุกวัน และพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คและทำความสะอาดตามปกติ เพราะวัสดุที่ใช้ในการทำ Bonding นี้สามารถที่จะเคลื่อนย้ายได้ควรทีจะหลีกเลี่ยงการกัดเล็บ ปากกา ไอศครีม และอาหารที่ยาก เมื่อไหร่ที่วัสดุสีเหมือนฟันหลุด สามารถที่จะรู้ได้อาการปวด หรือ รู้สึกแปลกเมื่อมีการกัดหรือขบเคี้ยว ควรพบแพทย์

การทำ Bonding สามารถอยู่ได้นานขนาดไหน

ขึ้นอยู่กับจำนวนของวัสดุสีเหมือนฟันที่ทำและนิสัยเฉพาะบุคคล อย่างไรก็ตามปกติวัสดุสีเหมือนฟันจะอยู่ได้นานอย่างต่ำ 3 ปีถึง 10 ปีก่อนที่จะมีการเปลี่ยนวัสดุสีเหมือนฟันใหม่

Source from http://www.webmd.com

Frequently Asked Questions (FAQs) on Dental Fillings

  • Indirect Fillings คืออะไร
  • การอุดฟันชั่วคราวคืออะไร ทำไมคนไข้ต้องทำ
  • การอุดด้วยใช้วัสดุสีเงินปลอดภัยหรือไม่

Indirect Fillingsคืออะไร

Indirect Filling คล้ายกับการใช้วัสดุสีเหมือนฟันอุดฟัน แต่กรณีนี้จะแตกต่างตรงที่ Indirect Filling ต้องทำใน dental laboratory และต้องการคนไข้มาพบทันตแพทย์ 2 ครั้ง Indirect Filling จะทำในกรณีที่คนไข้มีฟันเหลือไม่เพียงพอที่จะอุดได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ฟันไม่มีอาการร้ายแรงมากนั้น แนะนำทำ Crown
ระหว่างการพบแพทย์ในครั้งแรก สีดำที่ติดกับฟัน หรือ ตัวอุดฟันตัวเก่าต้องถูกเอาออก และคนไข้จะถูกพิมพ์ปากเพื่อจะได้มีรูปทรงของฟัน ฟันที่ถูกพิมพ์ขึ้นจะถูกนำส่ง lab เพื่อจะทำ  Indirect Filling  ทันตแพทย์จะอุดฟันชั่วคราวให้คนไข้ก่อนในระหว่างที่รองานจาก Lab การมาครั้งที่ 2 วัสดุที่อุดชั่วคราว จะถูกรื้อออก และทันตแพทย์จะ check อีกทีว่าวัสดุที่ถูกจัดส่งมาจาก Lab  นั้นพอดีกับคนไข้

There are two types of indirect fillings – inlays and onlays.

  1. Inlays are similar to fillings but the entire work lies within the cusps (bumps) on the chewing surface of the tooth
  2. Onlays are more extensive than inlays, covering one or more cusps. Onlays are sometimes called partial crowns
    Inlays and onlays are more durable and last much longer than traditional fillings – up to 30 years. They can be made of tooth-colored composite resin, porcelain or gold. Inlays and onlays weaken the tooth structure, but do so to a much lower extent than traditional fillings.

การอุดฟันชั่วคราวคืออะไร ทำไมคนไข้ต้องทำ

Temporary fillings are used under the following circumstances:

  • For fillings that require more than one appointment – for example, before placement of inlays and onlays
  • Following a root canal
  • To allow a tooth’s nerve to “settle down” if the pulp became irritated
  • If emergency dental treatment is needed (such as to address a toothache)

การอุดฟันชั่วคราวจะไม่คงทนมันสามารถหลุดออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ภายใน1 เดือน คนไข้ต้องติดต่อทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนตัวอุดชั่วคราวเป็นถาวรถ้าคนไข้ไม่ทำการเปลี่ยนการอุดชั่วคราวคนไข้มีโอกาสติดเชื้อได้

การอุดโดยใช้วัสดุสีเงินปลอดภัยหรือไม่

จากที่ผ่านมาหลายปีการอุดฟันด้วยวัสดุสีเงิน เป็นเพราะว่ามันถูกทำมาจากตะกั่วหลายคนจึงเกิดการกังวลว่ามันสามารถที่จะติดเชื้อได้ รวมถึงการที่จะทำให้เป็น autism, Alzheimer’s disease , multiple sclerosis
The American Dental Association (ADA), the FDA, and numerous public health agencies แจ้งว่าวัสดุดังกล่าวปลอดภัยและยังไม่พบท่านใดป่วยเป็นโรคดังกล่าวจากการใช้วัสดุดังกล่าว สาเหตุของ autism, Alzheimer’s disease , multiple sclerosis ยังไม่ทราบสาเหตุ