คำถามทางทันตกรรมที่พบบ่อย

[ultimate_heading main_heading=”คำถามทางทันตกรรมที่พบบ่อย” main_heading_color=”#009edc” main_heading_style=”font-weight:bold;”][/ultimate_heading]

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำคอมโพสิตวีเนียร์

  • อะไรคือข้อดีและข้อเสียของการทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers)?
  • ฟันที่ทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers)ต้องดูแลเป็นพิเศษหรือไม่?
  • คอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers)มีอายุการใช้งานนานเท่าใด ?

ข้อดี
การทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers)เป็นวิธีการแก้ปัญหารูปร่างฟัน สีฟัน การเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติหรือไม่สวยงาม ที่ง่ายที่สุดและมีราคาไม่แพง ไม่เหมือนกับครอบฟันและวีเนียร์ ซึ่งเป็นชิ้นงานที่ผ่านการผลิตในห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไปแล้วการทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers) สามารถทำได้เสร็จในครั้งเดียวหากไม่เกี่ยวข้องกับฟันหลายซี่ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งเมื่อเทียบกับการทำครอบฟันและวีเนียร์ คือผิวเคลือบฟันถูกขัดออกน้อยที่สุด และในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาชา

ข้อเสีย
วัสดุที่ใช้ทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers) จะค่อนข้างทนต่อคราบ แต่ก็ไม่สามารถทนทานต่อคราบคราบสกปรกได้เหมือนครอบฟันหรือวีเนียร์ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือวัสดุที่ใช้ทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers)มีควารมแข็งประมาณหนึ่งแต่ก็ไม่แข็งแรงเท่ากับขั้นตอนการบูรณะฟันในแบบอื่น ๆ เช่น ครอบฟัน วีเนียร์หรือการอุดฟัน นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ยังมีโอกาสแตกหักได้

ในการทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers)อาจมีข้อจำกัดสำหรับคนไข้บางราย ซึ่งทันตแพทย์จะตรวจลักษณะฟันโดยละเอียด วางแผนการรักษาในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนปัญหาขนาดของฟันให้เหมาะสำหรับการแก้ไขข้อบกพร่องของคนไข้แต่ละราย ซึ่งท่านสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก่อนรับการรักษาโดยการทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers)

การดูแลฟันที่ฟันที่ทำคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers) เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำการรักษาอาจแตกหรือบิ่นได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงเช่นการกัดเล็บ เคี้ยวกัดปากกา น้ำแข็งหรือวัตถุอื่น ๆ ที่มีความแข็ง หลังจากที่ทำไปถ้ารู้สึกว่าฟันความคมตามขอบฟันหรือรู้สึกแปลกๆในตำแหน่งที่ทำการยึดติด ควรติดต่อทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจดูอาการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการแตกหักตามมา ส่วนการดูแลทำความสะอาดสามารถทำได้ปกติเหมือนฟันธรรมชาติคือแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งและพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน

อายุการใช้งานของคอมโพสิตวีเนียร์ (Direct Veneers) ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพช่องปาก ลักษณะการรับประทานอาหาร ประกอบด้วยโดยปกติแล้ววัสดุนี้มีอายุ 3 -10 ปี

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุดฟัน

  • Indirect Fillings คืออะไร?
  • Indirect Fillings มีกี่แบบ อะไรบ้าง
  • การอุดฟันแบบชั่วคราวคืออะไรและทำไมจึงต้องทำ?

IIndirect Fillings มีลักษณะคล้ายกับการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันแต่แตกต่างกันที่ indirect fillingต้องทำในห้องปฏิบัติการทันตกรรม(dental laboratory) ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ถึง 2 ครั้งก่อนที่จะทำการใส่ชิ้นงาน การอุดฟันประเภทนี้จะทำก็ต่อเมื่อกรณีผู้ป่วยมีเนื้อฟันเหลือน้อยหรือโครงสร้างฟันไม่พอที่จะอุดแต่ก็ไม่เหลือน้อยเกินไปจนต้องทำครอบฟัน ในนัดครั้งแรกทันตแพทย์จะทำการรื้อคราบฟันผุหรือรื้อวัสดุอุดเดิมออกเพื่อเตรียมพื้นที่ในการพิมพ์ฟันตามรูปร่างของเนื้อฟันที่ถูกรื้อออกไปและทำการส่งแบบพิมพ์นั้นไปที่ห้องปฏิบัติการ(Dental Labotory )ทันตแพทย์จะอุดฟันชั่วคราวให้ก่อนในระหว่างที่รอชิ้นงาน เพื่อป้องกันการแตกหักของฟันซี่นั้นๆ และเมื่อได้ชิ้นงานจากห้องปฏิบัติการ(Dental Labotory)แล้วนั้นทันตแพทย์ลองใส่งานและตรวจสอบความถูกต้องและทำการยึดติดอย่างถาวรในการนัดหมายครั้งที่สองนั้นเอง

Indirect Fillings มี 2 แบบได้แก่ Inlay กับ Onlay
Inlays และ onlays มีความคงทนและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าการอุดฟัน ทำจากคอมโพสิตเรซินซึ่งมีสีคล้ายฟัน พอสเลน หรือทอง ซึ่ง Inlays และ onlays เป็นการรักษาทางทันตกรรมสำหรับฟันที่มีปัญหาผุลึก เนื้อฟันเหลือน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องทำครอบฟัน ลักษณะของOnlays มีความหลากหลายมากกว่า inlays ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บดเคี้ยวอย่างน้อยหนึ่งพื้นหรือมากว่า Onlays บางครั้งเรียกว่า การครอบฟันบางส่วน

การอุดฟันแบบชั่วคราวเป็นการอุดฟันโดยใช้วัสดุอุดฟันแบบชั่วคราว เพื่อให้คนไข้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ตามปกติในระหว่างรอวัสดุอุดตัวจริง แต่วัสดุอุดชั่วคราวจะมีความแข็งแรงน้อยกว่า จึงควรระวังในการบดเคี้ยว หลีกเหลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว เพราะอาจจะทำให้วุสดุอุดชั่วคราวแตกหรือหลุดได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟันปลอม

  • มีทางเลือกอื่นร่วมกับการใส่ฟันปลอมหรือไม่
  • ฟันปลอมจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแตกต่างหรือเปลี่ยนไปหรือไม่?
  • ฟันปลอมสามารถใช้งานหรือเวลาเคี้ยวอาหารได้เหมือนฟันธรรมชาติหรือไม่?
  • ฟันปลอมจะมีผลต่อการพูดของคนไข้หรือไม่?
  • ต้องใส่ฟันปลอมตลอด24 ชั่วโมงต่อวันหรือไม่?
  • เมื่อไหร่ที่กาวยึดติดฟันปลอมใช่ไม่ได้อีกต่อไป?
  • กาวยึดติดฟันปลอมใช้อย่างไร?
  • กาวยึดติดฟันปลอมมีความปลอดภัยหรือไม่?

คำตอบคือมี ทันตกรมรากฟันเทียมสามารถใช้เพื่อเป็นหลักยึดเกี่ยวให้กับฟันปลอมได้ นอกจากนี้ยังสามารถฝั่งรากเทียมร่วมกับการทำฟันปลอมแบบยึดติดถาวรเพื่อการใช้งานที่เสมือนฟันธรรมชาติ ค่าใช้จ่ายของรากฟันเทียมจะสูงกว่า แต่รากฟันเทียมและสะพานสามารถใช้งานได้เหมือนฟันจริง ทันตกรรมรากฟันเทียมจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันจริงไปจากสาเหตุต่างๆ แต่การทำรากฟันเทียมก็มีข้อจำกัดอาจจะไม่สามารถทำได้กับผูป่วยทุกราย ควรปรึกษากับทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

การใส่ฟันปลอมในช่วงแรกจำเป็นต้องมีการฝึกเคี้ยวอาหารด้วยฟันปลอมใหม่และอาจทำให้คนไข้บางรายเกิดความรู้สึกอึดอัด แต่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วหายเพียงไม่กี่สัปดาห์ ระหว่างนี้เพื่อให้คุ้นเคยกับฟันปลอมตัวใหม่คนไข้ควรเริ่มต้นการเคี้ยวด้วยอาหารที่อ่อนๆ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยวช้าๆโดยเคี้ยวทั้งสองฝั่ง เมื่อเริ่มใช้ฟันปลอมใหม่ได้แล้วให้เพิ่มอาหารจนกว่าจะสามารถเคี้ยวอาหารปกติได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อน อาหารที่มีความแข็ง เช่นกระดูก เปลือกหอยหรืออาหารที่มีความเหนียวในขณะที่ผู้ป่วยกำลังปรับตัวกับฟันปลอมใหม่นี้และไม้จิ้มก็ห้ามใช้ในขณะที่ใส่ฟันปลอมอยู่

การใส่ฟันปลอมในช่วงแรกจำเป็นต้องมีการฝึกเคี้ยวอาหารด้วยฟันปลอมใหม่และอาจทำให้คนไข้บางรายเกิดความรู้สึกอึดอัด แต่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วหายเพียงไม่กี่สัปดาห์ ระหว่างนี้เพื่อให้คุ้นเคยกับฟันปลอมตัวใหม่คนไข้ควรเริ่มต้นการเคี้ยวด้วยอาหารที่อ่อนๆ หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยวช้าๆโดยเคี้ยวทั้งสองฝั่ง เมื่อเริ่มใช้ฟันปลอมใหม่ได้แล้วให้เพิ่มอาหารจนกว่า

การใส่ฟันปลอมอาจจะพูดไม่ชัดหรือมีปัญหาในการออกเสียงคำบางคำช่วงแรกของในการใส่ฟันปลอมเป็นเรื่องปกติ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ฝึกพูดโดยใช้คำที่ผู้ป่วยออกเสียงแล้วมีปัญหา ด้วยเวลาและฝึกออกเสียงจะทำให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับการใช้ฟันปลอมตัวใหม่ ซึ่งคนไข้จะค่อยๆปรับตัวดีขึ้นหลังจากใส่ฟันปลอม

ทันตแพทย์ขจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในเรื่องของระยะเวลาการใส่และการถอดฟันปลอมว่าควรใส่หรือควรถอดเมื่อใด ส่วนใหญ่ควรถอดฟันปลอมก่อนเข้านอน เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อเหงือกได้รับการพักผ่อนและช่วยให้การกระตุ้นระบบทำความสะอาดตามปกติโดยลิ้นและน้ำลาย และใส่ฟันปลอมเมื่อตื่นมาในตอนเช้า

  1. เมื่อฟันปลอมเก่าเริ่มหลวมทำให้รู้สึกไม่สบายหรือทำให้เกิดแผลร้อนใน แผลพุพองในช่องปาก ควรติดต่อทันตแพทย์ของคุณทันที
  2. เมื่อผู้ป่วยไม่ได้พบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คฟันปลอมมาเป็นเวลานาน ฟันปลอมที่ใส่อยู่วางกดทับเหงือกและกระดูกขากรรไกรซึ่งก่อให้เกิดการหดตัวของเหงือกและเสื่อมลงตามลำดับ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงอาจมีความจำเป็นสำหรับการปรับฟันปลอมหรืออาจต้องทำฟันปลอมใหม่
  3. เมื่อสุขภาพอนามัยช่องปากแย่ลง
  4. เมื่อมีการใช้กาวยึดติดมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนไข้ไม่ได้พบทันตแพทย์เป็นประจำ เมื่อความถี่และ ปริมาณของการใช้กาวเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงความจำเป็นในการปรับฟันปลอมหรือทำฟันปลอมใหม่
  5. เมื่อแพ้ส่วนผสมที่มียู่ในกาวยึดฟันปลอม
  1. ใช้ในปริมาณที่น้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้น้อยกว่าที่คุณคิดว่าคุณต้องการแล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณจนรู้สึกสบาย
  2. กระจายกาวอย่างสม่ำเสมอบนพื้นผิวของฟันปลอม
  3. ติดกาวเพิ่มเมื่อจำเป็นเพื่อให้การยึดติดดีขึ้นตามได้ผลต้องการ
  4. ติดกาวลงบนพื้นผิวของฟันปลอมที่สะอาด
  5. กาวติดฟันปลอมจะให้ผลลัพธ์ที่ดีเมื่อมีฟันปลอมที่รับกับช่องปากของผู้ป่วย

กาวยึดฟันปลอมมีความปลอดภัยตราบเท่าที่มีการใช้งานตามที่ควรจะเป็น ถ้าฟันปลอมมีความกระชับและกาวจะถูกใช้เพื่อเพิ่มการยึดติดเท่านั้นไม่ควรมีผลข้างเคียง ถ้ากาวถูกใช้เพื่อเติมช่องว่างสำหรับฟันปลอมที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้ บางครั้งในกรณีเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้เนื่องจากการเคลื่อนขยับของฟันปลอมที่ผิดไปจากเดิมเนื้ออาจทำให้เกิดการสูญเสียกระดูกตามมา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับทันตกรรมรากเทียม

  • ความสำเร็จของการปลูกรากฟันเทียม?
  • ใส่รากฟันเทียมมีความรู้สึกไม่สบายหรือไม่?
  • การรักษาใช้เวลานานแค่ไหน?
  • ผู้ป่วยต้องใช้เวลาพักฟื้นนานเท่าไร?
  • ใครที่ควรจะทำรากฟันเทียม?
  • จะเกิดอะไรขึ้นกับช่องว่างหลังจากการสูญเสียฟันโดยไม่ได้รับการรักษาอื่นต่อ?

ทันตกรรมรากฟันเทียมมีอัตราความสำเร็จแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งในขากรรไกรโดยทั่วไปแล้วรากฟันเทียมมีอัตราความสำเร็จสูงถึง 97% ด้วยการดูแลที่เหมาะสม รากฟันเทียมมีจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

การฝังรากฟันเทียมเป็นมีความรู้สึกเช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ อาจมีอาการอึดอัดเล็กน้อย อย่างไรก็ตามทันตแพทย์จะให้ยาชาและยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการและลดความรู้สึกที่ไม่สบายในขณะที่ทำการผ่าตัด ประมาณ 95%ของผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าการถอนฟัน หลังการฝังรากฟันเทียม แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดให้เพื่อรองรับกับอาการที่อาจเกิดขึ้น และมีการตรวจติดตามอาการหลังการผ่าตัดแล้วเสร็จเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีอาการปกติหรือดีขึ้น

การรักษาจะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 6-8 สัปดาห์หรือสั้นกว่านั้น ปัจจุบันนี้ในบางกรณีสามารถใส่ครอบชั่วคราวหลังจากการฝังรากเทียมได้ทันทีหรือเรียกกันว่า “Immediated loaded implants หรือ One day implants ” อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีฟันหน้าเราจะมีฟันชั่วคราวใส่ให้เว้นเสียแต่ว่าผู้ป่วยเลือกที่จะไม่ใส่ฟัน

โดยทั่วไปเราขอแนะนำให้หยุดในวันที่ทำการผ่าตัดและวันรุ่งขึ้นหลังจากการผ่าตัด ไม่ควรออกกำลังกายที่หนักเกินไปในช่วง 1-3 วันหลังจากการผ่าตัด โดยทั่วไปการการพักฟื้นประมาณ 1- 2วันเท่านั้นกรณีฝังรากฟันเทียม 1-2 ตัว แต่กรณีมากกว่านั้นทันตแพทย์จะดูตามลักษณะของคนไข้แต่ละราย

  • ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียฟันธรรมชาติไป หนึ่งซี่ หรือมากกว่าหนึ่งซี่ หรือแม้กระทั้งไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยก็ตาม ทุกคนสามารถฝังรากฟันเทียมได้
  • หากมีฟันหนึ่งซี่หรือหลายซี่ที่สูญเสียไปการฝังรากเทียมร่วมกับครอบฟัน หรือ แม้แต่สะพานฟันก็ทำได้และยังให้ความรู้สึก การใช้งานเสมือนฟันธรรมชาติและช่วยป้องการการยุบตัวของกระดูกอีกด้วย
  • ถ้ากรณีสูญเสียฟันทั้งหมดหรือการสูญเสียฟันไปส่วนใหญ่การฝังรากฟันเทียมเพื่อยึดฟันปลอมไว้ไก้สามารถทำได้ ในบางครั้งหากมีการสูญเสียกระดูกอยู่แล้วก็สามารถเพิ่มกระดูกเข้าไปได้เพื่อเพิ่มความหนาแน่นหรือเทคนิคที่เรียกว่าการขยายกระดูกสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการฝังรากเทียม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษากับทันตแพทย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนเหล่านี้จึงจะสามารถช่วยให้คำตอบในการรักษานี้ได้

เมื่อคุณสูญเสียฟันธรรมชาติ ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ

  • กระดูกรองรับรากฟันจะค่อยๆสูญเสียไปด้วย เมื่อกระดูกหายไปปัญหาที่เกิดขึ้นกับฟันอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงก็คือการเอียงตัวของฟันหรือฟันล้ม เพราะขาดกระดูกที่ช่วยประคองรากฟัน ทำให้เกิดปัญหาการยึดเกาะของฟันปลอมและสะพานเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาอื่นๆที่ตามมาไม่ว่าจะอาการของเหงือกร่น ไม่มีตำแหน่งฟันเพื่อยึดเกาะฟันปลอมชนิดต่างๆ
  • ลิ้นขยายใหญ่ชึ้นเพื่อให้รับช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟันมีผลต่อพฤติกรรมการทานอาหาร
  • เมื่อกระดูกเกิดการเสื่อมสภาพแล้วมันจะแพร่กระจายและขยายตัวไปยังตำแหน่งของฟันซี่อื่นๆจึงก่อให้เกิดเสื่อมสภาพที่ต่อเนื่อง
  • การเสื่อมสภาพของกระดูกที่ต่อเนื่องนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลต่อการรักษาอาจจะไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับตอนที่กระดูกยังมีสภาพดีอยู่ ซึ่งในขณะเดียวกันหากผู้ป่วยได้รับการรักษาหรือได้รับฟันทดแทนก่อนที่กระดูกจะเกิดการเสื่อมสภาพย่อมส่งผลดีกว่าในทางการรักษา