ทันตกรรมรากเทียม
คือการทดแทนฟันที่หายไปจากการถูกถอนจากสาเหตุต่างๆ ซึ่งรากฟันเทียมนี้จะยึดกับโครงสร้างของกระดูกขากรรไกรเพื่อยึดติดกับตัวครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมอย่างดี ทำให้ได้ฟันใหม่ที่เหมือนฟันธรรมชาติ รากฟันเทียมผลิตจากวัสดุไทเทเนียมที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ จึงทำให้รากฟันเทียมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ประเภทของรากฟันเทียม
- Conventional Implant คือ การฝังรากฟันเทียมในกรณีที่ถอนฟันนานแล้ว
- Immediate Implant คือ การฝังรากฟันเทียมทันทีหลังจากถอนฟัน
- Immediate Loaded Implant คือการฝังรากฟันเทียมแล้วใส่ครอบฟันทันที
Conventional Implants
ผู้มารับบริการส่วนใหญ่จะฝังรากฟันเทียมแบบ Conventional Implants เนื่องจากใช้กับผู้ป่วยเกือบทุกกรณีที่ต้องการฝังรากฟันเทียมทดแทนฟันที่สูยเสียไป โดยการฟื้นฟูสภาพของบริเวณฟันที่เสียไปอย่างถาวรนั้นโดยการทำรากฟันเทียมแบบ Conventional Implants มีขั้นตอนในการรักษา 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้นตอนแรก ฝังรากฟันเทียมไทเทเนียม บริเวณที่สูญเสียฟันแท้ไป หลังจากฝังเสร็จรอประมาณ 2-4 เดือนขึ้นอยู่กับกระดูกของแต่ละคน ระหว่างรอถ้ากรณีคนไข้ฝังรากฟันเทียมตำแหน่งฟันหน้า ทันตแพทย์จะใส่ฟันปลอมให้ก่อน
- ขั้นตอนที่ 2 ใส่ครอบฟัน สะพานฟัน หรือ ฟันปลอม บนรากฟันเทียมที่ฝังไปครั้งแรก ขั้นตอนนี้ผู้ป่วยจะได้ฟันใหม่ที่สวยงามและบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Immediate implants
Immediate implants เป็นการฝังรากฟันเทียมในวันเดียวทันทีหลังจากถอนฟัน ซึ่งจะไม่สามารถทำได้ทุกกรณี ทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนการรักษาร่วมกับคนไข้แต่ละรายก่อน ส่วนขั้นตอนการรักษาจะเหมือนกับการฝังรากเทียมแบบ Conventional Implants
Immediate loaded implants
Immediate loaded implants คือการฝังรากฟันเทียมและใส่ครอบฟันชั่วคราว หรือ ครอบฟันถาวร หรือสะพานฟันทันที หลังจากฝังรากฟันเทียม สามารถทำได้ทั้งกรณีแบบ Conventional Implants หรือ Immediate Implants. การวางแผนการฝังรากฟันเทียมแบบ Immediate Loaded
Implant คนไข้แต่ละรายจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยและสภาวะทางทันตกรรมโดยทั่วไป รวมถึงกระดูกรองรับรากฟันด้วย โดยทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาจาก ภาพเอกซเรย์ หรือ CT scan เพื่อการประเมินปริมาณของกระดูกอย่างละเอียด และวินิจฉัยให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยและลักษณะกระดูกของผู้ป่วย
ประโยชน์ของรากฟันเทียม
- เสริมสร้างความมั่นใจและเพิ่มคุณภาพชีวิต
- ได้ครอบฟัน สะพานฟันและฟันปลอมที่เหมือนธรรมชาติ
- ไม่ต้องกรอสูญเสียฟันซี่ข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน
- รากฟันเทียมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้สามารถรับประทานอาหารได้ตามที่คุณต้องการ
- แก้ไขทำให้การออกเสียงดีขึ้น เปรียบเทียบกับการใส่ฟันปลอม
- ทำให้สะดวกสบายขึ้นกว่าการใส่ฟันปลอม
- ป้องกันการสูญเสียของกระดูกรองรับฟัน
- รากฟันเทียมมีความทนทาน อายุการใช้งานยาวนานกว่า เมือเทียบกับการทำฟันปลอมชนิดอื่น
- ฟันไม่เคลื่อนไปมา ติดแน่น ไม่หลุดง่าย เหมือนการใส่ฟันปลอมที่อาจจะทำให้กังวลว่าจะมีการเคลื่อนออกมาของฟันปลอม
ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียม โดย ผศ.รท.ทพ.ปรีดา พึ่งพาพงศ์
Dental Implant Restoration Types
การปลูกรากฟันเทียมแบบ 1 ตัว
การปลูกรากฟันเทียมแบบ 1 ตัว เป็นการปลูกรากฟันเทียมกรณีที่ฟันถูกถอนไป 1 ซีและยังมีฟันซี่ข้างเคียงอยู่ ทันตแพทย์ฝังรากฟันเทียมลงบนตำแหน่งที่ฟันถูกถอนไป และทำครอบฟันบนรากฟันเทียม การฝังรากฟันเทียมเป็นวิธีที่ดีสำหรับการทดแทนฟันที่ถูกถอนไปทั้งในด้านการใช้งาน การบดเคี้ยว ความสวยงาม และความแข็งแรง ให้มีความเหมือนหรือใกล้เคียงฟันธรรมชาติ จึงทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น
การปลูกรากฟันเทียมมากกว่า 1 ตัว
การปลูกรากฟันเทียมมากกว่า 1 ตัว ในกรณีที่ผู้ป่วยมีฟันที่ถูกถอนในตำแหน่งเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ทันตแพทย์จะปลูกรากฟันเทียมประมาณ 2 – 4 ซี่ เพื่อเป็นฐานในการรองรับแรงบดเคี้ยวที่ดี ส่วนฟันปลอมบนรากฟันเทียมลักษณะนี้จะเป็นสะพานฟัน ซึ่งสะพานฟันสามารถใช้บดเคี้ยวได้เช่นเดียวกับฟันธรรมชาดิ จะมีบางซี่ที่ลอยเหนือเหงือและบางซี่ที่ยืดติดกับตัวรากฟันเทียม
การปลูกรากฟันเทียมกรณีสูญเสียฟันธรรมชาติทั้งปาก
กรณีที่คนไข้สูญเสียฟันธรรมชาติทั้งปาก การปลูกรากฟันเทียมเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยลักษณะการปลูกรากฟันเทียมมี 2 แบบคือ
- ปลูกรากฟันเทียมรองรับสะพานฟันทั้งปาก
- ปลูกรากฟันเทียมรองรับฟันปลอมทั้งปากการปลูกรากฟันเทียมรองรับสะพานฟันทั้งปาก
ด้วยนวัตกรรมรากฟันเทียม สามารถปลูกรากฟันทียมทั้งขากรรไกร และใช้สะพานฟันยึดติดรากฟันเทียมแบบถาวร ทำให้การรักษานี้เป็นการทดแทนฟันธรรมชาติที่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมือนได้ฟันเดิมคืนกลับมาอีกครั้งปลูกรากฟันเทียมรองรับฟันปลอมทั้งปาก
เป็นการปลูกรากฟันเทียมเพื่อรองรับฟันปลอมทั้งปาก การปลูกรากฟันเทียมลักษณะนี้ เป็นการปลูกรากฟันเทียมประมาณ 2-4 ตัว เพื่อใช้ยึดติดกับฟันบนและรองรับแรงในการบดเคี้ยวอาหาร ฟันปลอมที่ยึดติดกับรากฟันจะดีกว่าฟันปลอมที่ยึดติดกับเหงือก เนื่องจากตัวรากฟันเทียมจะมีคลิปล็อคเข้ากับฟันปลอม ขณะที่ใส่ป่วยจะรู้สึกสบาย บดเคี้ยวได้ดีกว่า และมั่นใจกว่าขณะพูดคุยหรือหัวเราะ เพราะคลิปล็อคช่วยให้ฟันปลอมแน่น ไม่หลุดง่าย