การรักษารากฟัน

[ultimate_heading main_heading=”การรักษารากฟัน” main_heading_color=”#009edc” main_heading_style=”font-weight:bold;”][/ultimate_heading]

การรักษารากฟัน

การรักษารากฟันเป็นทันตกรรมแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นด้านการรักษารากฟันและเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปเกิดเนื่องมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายรากฟัน หรือเกิดจากการหัก ร้าว หรือผุ ลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดอยู่ ก่อให้เกิดอาการปวดและบวมที่บริเวณนั้น บางครั้งอาจเกิดความเสียหายต่อกระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ รวมถึงการติดเชื้อและการอักเสบในโพรงฟัน การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญและช่วยให้ผู้ป่วยยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถูกถอนทิ้งไป โดยในอดีตปัญหาเหล่านี้มักจะได้รับการแก้ไขด้วยการถอนฟันซี่นั้นทิ้งไป

แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาทางทันตกรรมรวมถึงเทคโนลยีด้านเทคนิค วัสดุและอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้ด้วยการรักษารากฟัน ซึ่งช่วยให้ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป

การรักษารากฟัน

ข้อดีของการรักษารากฟัน

  • ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
  • ช่วยขจัดความเจ็บปวด
  • ช่วยป้องกันการแพร่ขยายบริเวณของการติดเชื้อ

วิธีการดูแลเมื่อเข้ารับการรักษารากฟันและเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา

ในช่วงเวลาของการรักษารากฟัน ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวบริเวณฟันที่ได้รับการรักษา เนื่องจากทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงฟันแบบชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นฟันซี่นั้นจึงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่งานได้ตามปกติ และเมื่อการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วนั้น ฟันซี่ดังกล่าวก็จะมีความแข็งแรงไม่เท่าดังเดิม ดังนั้นทันตแพทย์จึงแนะนำให้รับการใส่เดือยฟันและครอบฟันเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและป้องกันฟันซี่นั้นจากการติดเชื้อและฟันแตกหัก

 

เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดีควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงการพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันปัญหาในช่องปากและฟันได้

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเข้ารับการรักษารากฟัน

ช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้น ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกเสียวฟันอันเกิดเนื่องมาจากเนื้อเยื่อได้เคยเกิดการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมาก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถแก้ไขด้วยการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปและอาการดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน

ขั้นตอนของการรักษารากฟัน

  • ขั้นตอนการวินิจฉัยและการเตรียมฟันเพื่อรับการรักษา
    • การถ่ายเอ๊กซเรย์ฟิลม์เล็กเพื่อตรวจดูสภาพและรูปร่างของฟัน รวมถึงบริเวณที่มีการติดเชื้ออักเสบ
    • ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณนั้น
    • การเจาะเปิดโพรงฟันเพื่อตัดเนื้อฟันที่ติดเชื้อออกไป
  • ขั้นตอนการทำความสะอาดโพรงรากฟัน
    • การทำความสะอาดโพรงรากฟันอาจทำมากกว่า 1 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยบางท่าน เพื่อความมั่นใจว่าโพรงรากฟันได้รับการทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์
    • สำหรับผู้ป่วยบางท่าน ทันตแพทย์อาจทำการใส่ยาลงในโพรงรากฟัน เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือ และป้องกันการกลับมาติดเชื้อ
  • ขั้นตอนการอุดปิดโพรงรากฟัน
    • หลังจากโพรงรากฟันได้รับการฆ่าเชื้อแล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงรากฟัน
  • ขั้นตอนการใส่เดือยฟันและครอบฟัน
    • ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้นจะมีความแข็งแรงน้อยลง มีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้นการทำเดือยฟันและครอบฟันจึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและช่วยปกป้องฟันซี่นั้น
  • การดูแลความสะอาดฟันและช่องปาก และการเข้ารับการตรวจสภาพฟันทุก 6 เดือนหรือตามที่ทันตแพทย์นัดก็มีความสำคัญอย่างมาก ช่วยให้สามารถพบและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ

วัตถุประสงค์หลักของการรักษารากฟันคือการที่ทันตแพทย์สามารถที่จะกำจัดเชื้อโรคในโพรงประสาทฟันออกไปได้ทั้งหมด รวมไปถึงการอุดปิดโพรงรากฟันได้อย่างแนบสนิทเพื่อป้องกันการกลับมาของเชื้อโรคอีกด้วย ที่ศูนย์ทันตกรรมบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ เราเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องมือสำหรับการรักษารากฟัน Endo-mate DT และ เครื่องมือวัดความยาวของรากฟัน ซึงช่วยให้การรักษาสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

Frequently Asked Questions (FAQs) on Root Canal Treatment

  • ทำไมเนื้อเยื่อจึงต้องถูกตัดออก
  • ความเสียหายอะไรของที่จะเกิดขึ้นเป็นที่แรกของเส้นประสาทและเนื้อเยื่อของฟัน
  • อะไรคือสัญญาณที่จะต้องได้รับการรักษารากฟัน
  • อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรักษารากฟัน
  • Are there any alternatives to a Root Canal?

ทำไมเนื้อเยื่อจึงต้องถูกตัดออก

เมื่อเนื้อเยื่อ หรือ ปลายประสาทถูกทำให้เสียหาย  เนื้อเยื่อนั้นถูกทำลายและเชื้อแบคทีเรียเริ่มลุกลามภายในชั้นโพรงประสาทฟัน แบคทีเรีย และ ส่วนอื่นๆที่ถูกทำให้เสียหายนั้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเกิดติดเชื้อ หรือฟันเป็นหนอง และหนองที่เกิดจากการติดเชื้อนั้นจะลุกลามไปสู่รากฟันในที่สุด  หนองนั้นเกิดขึ้นนั้นเมื่อการติดเชื้อลุกลามไปทั่วปลายของรากฟัน ในที่สุดแล้วหนอง หรือการติดเชื้อที่รากฟันนั้นยังป็นสาเหตุให้เกิด:

  • การบวมอาจลุกลามไปยังยังบริเวณอื่นของใบหน้า คอ หรือศรีษะ
  • การสูญเสียเนื้อฟันทั้งส่วนบน และส่วนราก
  • เกิดปัญหาการลุกลามแพร่ขยายตัวของเชื้อที่เกิดขึ้นในรากฟัน รูที่เกิดขึ้นสามารถลุกลามไปยังอีกด้านของฟัน จากการแพร่ระบาดนั้นสามารถลุกลามไปยังเหงือก หรือทะลุผ่านไปถึงแก้ม และไปยังชั้นผิวได้อีกด้วย

ความเสียหายอะไรของที่จะเกิดขึ้นเป็นที่แรกของเส้นประสาทและเนื้อเยื่อของฟัน

เส้นประสาทและเนื้อเยื่อของฟันนั้นสามารถกลายมาเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อ และลุกลามเนื่องความของฟันที่ผุ  การอุดฟันขนาดใหญ่ ฟันที่บิ่นหรือแตก หรือ บาดแผลที่เกิดขึ้นบริเวณผิวฟัน

อะไรคือสัญญาณที่จะต้องได้รับการรักษารากฟัน

ในบางครั้ง อาการก็ไมปรากฏออกมาให้เห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามสัญญาณเหล่านี้ประกอบไปด้วย

  • อาการปวดฟันที่รุนแรงอันเนื่องมาจากแรงกดที่เกิดจากการบดเคี้ยว
  • อาการเสียวฟันหรือปวดฟันที่ยาวนานกว่าปกติเมื่อดื่ม หรือ รับประทานอาหารที่เย็นหรือร้อนจัด
  • การเปลี่ยนสี(ดำขึ้น)ของฟัน
  • อาการบวม หรือ อ่อนตัวลงของเหงือกบริเวณใกล้เคียง
  • อาการปูดบวมของเหงือกที่ไม่หายขาด หรือกลับมาเป็นอีกบ่อยๆ

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรักษารากฟัน

ทันตแพทย์ของท่านพยายามอย่างยิ่งที่จะทำความสะอาดและปิดรูฟัน เนื่องจาก อาจกลับมาติดเชื้อได้อีก สาเหตุที่สามารถทำให้กลับมาติดเชื้อได้อีกนั้น อาจเกิดขึ้นได้จาก

  • จำนวนของรากฟันที่มากกว่าที่คาดคะเนไว้ตามปกติของจำนวนรากฟัน ( ทำให้หลงเหลือเศษของรากฟันที่ไม่สะอาดพอ)
  • การแตกตัวของจำนวนรากฟันที่ยังตรวจไม่พบ
  • ได้รับการรักษาที่ยังไม่เพียงพอ
  • เกิดการแตกหักของวัสดุอุดฟันภายในเนื่องจากถูกใช้งานเป็นเวลานาน ทำให้กลับมาเกิดการติดเชื้อของแบคทีเรียภายในช่องฟัน

ในบางครั้งการกลับมารักษาอีกครั้งสามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ ในบางทีการผ่าตัดรัษารากฟันจำเป็นท่จะต้องมีเพื่อรักษาเอาไว้ ส่วนใหญ่แล้วขั้นตอนมนการผ่าตัดรักษารากฟันนั้นเป็นการผ่าตัดเพื่อตัดปลายรากฟันทิ้ง เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ หรือติดเชื้อในบริเวณที่เป็นกระดูกในส่วนของปลายรากฟัน ที่เกิดขึ้นหลังกระบวนการรักษารากฟัน ในกระบวนการนี้ เนื้อเยื่อเหงือกถูกเปิดออก เนื้อที่ติดเชื้อจะถูกตัดออก และในบางครั้งส่วนที่อยู่ปลายสุดของรากฟันจะถูกตัดออกด้วย อาจจะมีการอุดฟันขนาดเล็กเพื่อปิดช่องว่างส่วนของรากฟัน

Are there any alternatives to a Root Canal?

การรักษาฟันธรรมชาติเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดถ้าเป็นไปได้ ฟันธรรมชาติของคุณนั้นสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายชนิด เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการดูแลรักษาที่เหมาะสม ขั้นตอนการรักษารากฟันก็เป็นการรักษาอีกทางเลือกหนึ่ง ทางเลือกอื่นของกระบวนการการรักษารากฟันนั้นคือ จะต้องถอนฟันแล้วแทนที่ด้วยสะพานฟัน รากเทียม หรือการทำฟันปลอมที่ถอดได้ เพื่อทำให้การบดเค้ยวกลับมาดีดังเดิม และยังเป็นการป้องกันการเคลื่อนตำแหน่งของบริเวณฟันใกล้เคียง

Source http://www.webmd.com

 

Thailand Implantologists, prosthodontist